พริกขี้หนู กับโรคหัวใจและหลอดเลือด

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู กับโรคหัวใจและหลอดเลือด

พริกเป็นเครื่องปรุงรสที่ใช้กันแพร่หลายทั้งในบ้านเรา และทั่วโลก มีการบันทึกว่าพบครั้งแรกเมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตกาลที่ประเทศเม็กซิโก คนพบโดย คริศโตเฟอร์โคลัมบัส ผู้ค้นพบวทวีปอเมริกานั่นเอง  ในประเทศไทยคนไทยบริโภคพริกเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว จนถือว่าพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทย

สาเหตุที่พริกมีความเผ็ดก็เพราะมีสารที่ให้ความเผ็ดร้อน เรียกว่า "แคปไซซิน" เป็นสารจำพวกไฮโดรคาร์บอน ที่กระจายอยู่ทุกส่วนของผลพริก แต่ส่วนที่พบมากที่สุด นั่นหมายถึงส่วนที่เผ็ดที่สุดคือส่วนของรก หรือส่วนที่เป็นไส้ของพริกซึ่งเป็นที่เกาะของเม็ดนั่นเอง ส่วนเม็ดและเปลือกของพริก มีปริมาณแคปไซซินน้อยกว่า

สารแคปไซซินสามารถละลายได้ ในสารละลายพวกแอลกอฮอล์ อีเทอร์ และไขมัน แต่ไม่ละลายในน้ำ นั่นคือเมื่อเรากินพริกแล้วรู้สึกเผ็ดร้อน ถ้าดื่มน้ำก็จะไม่หายเผ็ด แต่ถ้าดื่มนม หรือดื่มเบียร์ จะทำให้หายเผ็ดได้ดีกว่า ผลของพริกและแคปไซซินนอกจากจะให้ความเผ็ดร้อนแล้วยังมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของ กล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งปัจจุบันมีผู้นำ มาทำเป็นเจลทาแก้ปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นแคปไซซิน ยังมีส่วนเพิ่มการเคลื่อนไหว ของระบบทางเดินอาหาร ที่น่าสนใจคือผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย

สารแคปไซซินสามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด ส่งผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดทำให้มีเลือดไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถลดการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดที่อาจไปอุดกั้นหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ ช่วยความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น นอกจากนี้จังมีผลต่อการละลายลิ่มเลือด ป้องกันการอุดกั้นในหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดที่สมอง ที่เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

พริก: อาหารเสริมสุขภาพสมุนไพรจากครัวไทย

คนไทยคุ้นเคยกับรสเผ็ดของพริกมานานแล้ว และไม่เฉพาะคนไทยเท่านั้นที่ชอบรสเผ็ด ชาวต่างชาติก็ชอบรสเผ็ดของพริกจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยกินพริกประมาณ 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี พริกที่ผลิตได้ในประเทศไทย ร้อยละ 80 นำไปแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม เช่น ซอส น้ำจิ้ม พริกป่น เป็นต้น อีกร้อยละ 20 นำมาใช้บริโภคกันในครัวเรือนพริก

นอกจากจะทำให้รสชาติของอาหารอร่อยเพิ่มขึ้นแล้ว ในทางการแพทย์พริกถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญชนิดหนึ่งดังนั้นจึงมีงานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับพริกจำนวนมาก เป็นต้นว่าผลิตภัณฑ์เจลพริกตำรับของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) และขององค์การเภสัชกรรม รวมถึงยาหม่องพริกสินค้า OTOP ของแต่ละท้องถิ่นด้วย

พริกขี้หนู กับโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประโยชน์ของพริก

พริกได้รับการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นเวลายาวนานหลายพันปีแล้วมีข้อโต้แย้งกันมากเกี่ยวกับปริมาณการกินพริกมากๆ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรคกระเพาะหรือโรคระบบทางเดินอาหาร คำตอบที่ได้ก็คือ

การกินพริกไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ ต่อสุขภาพจากการศึกษาเรื่องพริกทั้งอดีตและปัจจุบันพบว่า พริกมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

1. บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกช่วยลดน้ำมูก หรือสิ่งกีดขวางระบบการหายใจอันเนื่องจากเป็นไข้หวัด ไซนัสหรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ช่วยบรรเทาอาหารไอ

2. ลดการอุดตันของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจล้มเหลว หรือการเสียชีวิตจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน การกินพริกเป็นประจำจะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากโรคทั้ง 2 ชนิด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดี ลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารจำพวกบีต้าแคโรทีนและวิตามินซีช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือด ทำให้ปรับเข้ากับแรงดันระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

3. ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล แคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Low Density Lipoprotein) ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการสร้างโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-High Density Lipoprotein)ขึ้นทำให้ปริมาณ ของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ

4. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง พริกเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูง การกินอาหารที่มีวิตามินซีมากๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ วิตามินซียับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหารวิตามินซีช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน รวมถึงเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง กล้ามเนื้อและปอด คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์ร้ายได้
นอกจากนี้ วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทำการหยุดยั้งบทบาทของอนุมูลอิสระ (Free Fadicals) ที่จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ สารบีต้าแคโรทีนในพริกช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอดและในช่องปาก เพราะคนที่กินผักที่มีสารบีต้าแคโรทีนน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากกว่าคนที่กินผักที่มีบีต้าแคโรทีนสูงถึง 7 เท่าสารบีต้าแคโรทีนมีคุณสมบัติช่วยลดอัตราการกลายพันธุ์ของเซลล์และทำลายเซลล์มะเร็ง

5.บรรเทาอาการเจ็บปวด มนุษย์ใช้พริกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมานานแล้ว เช่น ลดอาการปวดฟัน บรรเทาอาการเจ็บคอ และการอักเสบของผิวหนัง ปัจจุบันมีการใช้สารแคปไซซินเป็นส่วนประกอบของขี้ผึ้งใช้ทาบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากผดผื่นคัน และอาการผื่นแดงที่เกิดบนผิวหนัง รวมทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นเอ็น อาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด โรคเกาต์หรือโรคข้อต่ออักเสบ

6.อารมณ์แจ่มใส สารแคปไซซินช่วยเสริมสร้างอารมณ์สดชื่น เนื่องจากสารนี้มีการส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ออกฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน คือบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้อารมณ์แจ่มใส

7.ป้องกันตัว ประมาณ 20 ปีที่แล้ว มีสเปรย์ป้องกันตัวยี่ห้อหนึ่ง มีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญสเปรย์ที่กล่าวถึงนี้ไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าฉีดเข้าตาโดยตรงอาจจะทำให้มองไม่เห็นประมาณ 2-3นาทีระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่ได้ทำให้ความเผ็ดของพริกจางหายไป

ในขณะเดียวกันมีการค้นพบสรรพคุณทางการแพทย์ของพริกที่สามารถนำมาปรุงเป็นตำรับยารักษาอาการต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายของคนเรา

ประโยชน์มากมายขนาดนี้ เพื่อนอาวุดสคงไม่มองข้ามความ "เผ็ด" และขนาด "เล็ก" พริกขี้หนูกันนะ

ภาพ: www.pixabay.com 

อ่านเรื่องสัพเพเหระอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
เฟซบุ๊คเพื่อนอาวุโส: https://www.facebook.com/seniorsfriendship
เว็บไซต์ Smart Senior: https://smartsenior.co
บล็อกเพื่อนอาวุโส: https://seniorsfriendship.blogspot.com

เพื่อนอาวุโส